วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มารู้จัก สเต็มเซลล์ (Stem cells) หรือ เซลล์ต้นกำเนิด กันเถอะ

เซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cells) จัดเป็น เซลล์วัยอ่อนที่สามารถแบ่งตัว และสร้างเองใหม่ได้ ในขณะเดียวกันก็สามารถเจริญเติบโตสร้างเซลล์ลูกหลานได้จำนวนมาก และหลายประเภท ตลอดชีวิตของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ

เซลล์ต้นกำเนิดสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทจำแนกตามอายุดังนี้
1. Embryonic Stem Cells เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้จากตัวอ่อนระยะแรก หลังการปฏิสนธิจนถึง 14 วัน

2. Fetal Germ Stem Cells เป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้มาจากเซลล์สืบพันธุ์ของทารกในครรภ์ระยะแรกก่อนที่ จะกลายไปเป็นไข่ หรืออสุจิ เซลล์กลุ่มนี้ได้มาจากเซลล์ของตัวอ่อนที่เกิดการแท้งระหว่างการตั้งครรภ์ ระยะแรก

3. Umbilical Cord Blood Stem Cells เป็นเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือด สายสะดือของทารกหลังคลอด ซึ่งมีเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดที่สามารถเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการรักษา พยาบาลได้

4. Adult Stem Cells เป็นเซลล์ต้นกำเนิดจากร่างกาย (Somatic Stem Cells) สามารถพบได้ในเนื้อเยื่อหลายชนิด ทั้งเนื้อเยื่อที่มีการสร้างเซลล์ทดแทนอย่างรวดเร็วตลอดเวลา เช่น ไขกระดูก ผิวหนัง และเยื่อบุทางเดินอาหาร ตลอดจนอวัยวะที่แต่เดิมเชื่อว่าไม่มีเซลล์ต้นกำเนิดอยู่ เช่น สมอง และหัวใจ

เซลล์ ต้นกำเนิดที่มีการศึกษากันอย่างกว้างขวาง คือ Embryonic Stem Cells และ Adult Stem Cells ซึ่งทั้งสองชนิดแตกต่างกันที่ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ชนิด ต่าง ๆ Embryonic Stem Cells สามารถเปลี่ยน แปลงไปเป็นเซลล์ได้แทบทุกชนิดในร่างกาย เนื่องจากเป็นเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนโดยตรง ในขณะที่ Adult Stem Cells มีความสามารถในการแบ่งตัวได้น้อยกว่า แต่ก็นับว่าเพียงพอในการนำไปใช้ประโยชน์ และที่สำคัญคือสามารถนำเซลล์ของผู้ป่วยมาเพาะเลี้ยง และนำกลับไปรักษาตัวผู้ป่วยเองได้ จึงมีความปลอดภัยสูง และไม่มีปัญหาทางด้านชีวจริยธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง

การรักษาโดยใช้ เซลล์อาศัยคุณสมบัติสำคัญในการที่เซลล์ต้นกำเนิดจากอวัยวะหนึ่ง สามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่อของ อวัยวะอื่นที่ไม่ใช่เซลล์ของอวัยวะดั้งเดิม เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมและสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสม เช่น เซลล์จากไขกระดูกเจริญไปเป็นเซลล์ตับ, กล้ามเนื้อหัวใจ และเซลล์ประสาท ดังนั้นแพทย์ และทีมงานจึงสามารถเก็บเซลล์ต้นกำเนิดจากแหล่งที่เก็บได้ง่าย เช่น จากไขกระดูก และกระแสโลหิต นำมาจัดเตรียม และตรวจสอบในห้องทดลอง ก่อนที่จะนำไปทดแทนเซลล์ที่ผิดปกติหรือเสื่อมสภาพตามกระบวนการรักษาผู้ป่วย ที่เหมาะสมต่อไป

นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการรักษาโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว, มะเร็ง รังไข่, มะเร็งตับอ่อน และ Multiple Myeloma โรคโลหิตจางชนิดต่าง ๆ เช่น Thalassemia และ Sickle Cell Anemia โรคหัวใจ โรคที่มีการทำลายผิวกระจกตา เช่น Steven-Johnson Syndrome และการได้รับอันตรายจากสารเคมี โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคพาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ โรคเบาหวาน

จากการศึกษาในระยะเวลาหลายปี ที่ผ่านมาทำให้นักวิจัยทราบว่า เซลล์ต้นกำเนิดจากหลายแห่ง เช่น กระแสโลหิต, ไขกระดูก, กล้ามเนื้อ, เนื้อเยื่อไขมัน และเซลล์จากตัวอ่อนของมนุษย์สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งของเซลล์ต้นกำเนิดในการ รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจได้ เซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูกสามารถนำมาแยกและฉีดเข้าสู่หัวใจของผู้ป่วยได้โดยตรง ในขณะที่เซลล์ต้นกำเนิดที่มีปริมาณน้อย ๆ เช่น จากกระแสโลหิตจะต้องนำมาแยกและเพาะเลี้ยงในสภาวะที่เหมาะสมในห้องทดลองระยะ หนึ่งก่อน จึงจะนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้ วิธีนี้มีรายงานว่า สามารถใช้ในการรักษาผู้ป่วย Acute Myocardial Infarction และ Chronic Coronary Heart Disease ได้


ในประเทศไทยได้ทำการปลูกถ่ายเซลล์ ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2529 โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากญาติพี่น้องนำมาปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งปัจจุบันทำได้ในโรงพยาบาลมหา วิทยาลัยหลายแห่ง

ภายใต้การกำกับ ดูแลของแพทยสภา ตามข้อบังคับแพทยสภาที่ประกาศในราชกิจจา นุเบกษา ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2545 กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ไว้ดังนี้

1. เป็นศูนย์กลางรับลงทะเบียนผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตทั่วประเทศ

2. เป็นศูนย์กลางการคัดเลือกผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตให้กับผู้ป่วย ที่รอรับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตตามโรงพยาบาลทั่วประเทศด้วยความ เสมอภาค และถูกต้องตามหลักวิชาการ

3. เป็นศูนย์รับตรวจหาชนิดของเนื้อเยื่อเม็ดโลหิตขาว (HLA typing) ในผู้บริจาคและผู้ป่วยทั่วประเทศ

4. เป็นศูนย์ประสานงานระหว่างผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต กับโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยรอรับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต หรือโรงพยาบาลที่รับเจาะเก็บเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต

5. เป็นศูนย์ข้อมูลบริการข่าวสาร และการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต แก่วงการแพทย์และสาธารณชนโดยทั่วไป

6. เป็นตัวแทนในการติดต่อประสานงานกับศูนย์รับบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ธนาคารเลือดจากรกในต่างประเทศ หากมีความจำเป็นต้องใช้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตจากผู้บริจาคของต่างประเทศ

ที่มา : Bloggang.com : keyzer : สเต็มเซลล์ (Stem cells) เซลล์ต้นกำเนิด