วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

พักสายตากับ รูปภาพสวยๆ แปลกๆ

พักสายตากับ รูปภาพสวยๆ แปลกๆ กันนะครับ ขอให้มีความสุขกันถ้วนหน้า

1
1

2
2

3
3

4
4

5
5

6
6

7
7

8
8

9
9

10
10

11
11

12
12

13
13

14
14

15

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2552

ตะลุยเยาวราช ไหว้ 3 วัดจีน เสริมมงคล ตรุษจีน


ตะลุยเยาวราช ไหว้ 3 วัดจีน เสริมมงคลตรุษจีน

วัดมังกรกมลาวาส วัดจีนเก่าแก่ในย่านเยาวราช
ผ่านวันปีใหม่สากลไปไม่ทันไร ก็ใกล้ถึงวันปีใหม่ของชาวจีนหรือว่าตรุษจีนกันอีกแล้ว เรียกว่าเป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองจริงๆ ในวันตรุษจีนปีที่ผ่านๆมาฉันก็เคยพาไปไหว้ศาลเจ้า 8 แห่งในเยาวราชมาแล้ว ในปีนี้ก็ยังคงปักหลักอยู่ย่านไชน่าทาวน์ของเมืองไทยเช่นเคย เพราะเป็นแหล่งชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ แต่วันนี้ไม่ได้ไปเยือนศาลเจ้า แต่จะพาไปไหว้วัดจีนในย่านเยาวราชรวม 3 วัดด้วยกัน

เริ่มวัดแรกกันที่ "วัดมังกรกมลาวาส" หรือที่เรียกในภาษาจีนว่า "วัดเล่งเน่ยยี่" วัดเก่าแก่ที่มีคนแวะเวียนไปกราบไหว้กันแน่นขนัดในแต่ละวัน โดยเฉพาะในช่วงตรุษจีนอย่างนี้จำนวนคนก็ยิ่งเยอะขึ้นเป็นทวีคูณ สังเกตได้จากควันธูปหนาที่ลอยฟุ้งอยู่ภายในวัดไม่จางหาย

สำหรับชื่อจีนของวัดที่มีชื่อว่า "เล่งเน่ยยี่" นั้น เล่ง แปลว่ามังกร เน่ย แปลว่าดอกบัว ส่วน ยี่ ก็หมายถึงวัด ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนามวัดให้ใหม่ในภาษาไทย ที่มีความหมายครบถ้วนตามชื่อจีนว่า "วัดมังกรกมลาวาส" นั่นเอง

วัดในนิกายจีนแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงโปรดกล้าฯ ให้เลือกชัยภูมิที่ตั้งวัด และโปรดเกล้าฯให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าซ้ายร่วมกับพุทธศาสนิกชนชาวจีนก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2414 และใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 8 ปี จึงแล้วเสร็จเป็นวัดสำคัญที่ชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนให้ความเคารพศรัทธามาโดยตลอด

ผู้คนมากมายมาจุดธูปไหว้พระและเทพเจ้าต่างๆที่วัดมังกรฯ
มาพูดถึงสถาปัตยกรรมภายในวัดกันบ้างดีกว่า วัดมังกรกมลาวาสนั้นมีการวางผังตามแบบสถาปัตยกรรมจีนพื้นถิ่นทางตอนใต้ของจีน โดยมีลักษณะแบบสกุลช่างแต้จิ๋วเป็นหลัก การวางผังวัดถือตามแบบวัดพุทธศาสนานิกายมหายาน ตัวอาคารจะวางผังล้อมลาน เรียกว่า ซี่เตี่ยมกิม เป็นแบบเฉพาะของอาคารพื้นถิ่นแต้จิ๋ว

ภายในวัดเล่งเน่ยยี่นี้มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปสีทองแบบจีน มีวิหารอยู่ด้านหน้า ประดิษฐานรูปท้าวจตุโลกบาลเป็นรูปหล่อเขียนสี แต่งกายแบบนักรบจีน และยังมีรูปปั้นของเทพเจ้าตามความเชื่อในลัทธิเต๋าและเทพเจ้าพื้นเมืองอื่นๆ ของจีน นอกจากนั้นยังมีวิหารอีก 3 หลัง คือวิหารอวโลกิเตศวร ประดิษฐานรูปเจ้าแม่กวนอิม วิหารปฐมบูรพาจารย์ ประดิษฐานรูปเหมือนของพระอาจารย์จีนวังสมาธิวัตร และวิหารสังฆปรินายก ประดิษฐานเซียนหลักโจ้ว ซึ่งเป็นหมู่เทพซึ่งเชื่อกันว่าจะให้ความคุ้มครอง ช่วยในเรื่องสุขภาพ การค้า และความรักได้ด้วย

กลุ่มอาคารทั้งหมดประกอบด้วยอิฐและไม้เป็นโครงสร้างสำคัญ โดยเฉพาะโครงสร้างหลังคาอุโบสถและวิหารจตุโลกบาลแสดงโครงสร้าง ขื่อ คาน ตามแบบสกุลช่างแต้จิ๋วอย่างสวยงาม หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาแบบจีนโบราณมีการประดับตกแต่ง อาคารด้วยกระเบื้องตัดเป็นชิ้นเล็กๆประกอบเป็นลวดลายสิริมงคลตาม ความเชื่อแบบจีน มีการวาดลวดลายและแกะสลักลวดลาย ปิดทองอย่างสวยงาม มีการใช้โมเสคติดผนังทั้งหมด จัดว่าเป็นสถาปัตยกรรมจีนโบราณที่มีความสมบูรณ์มากแห่งหนึ่งเลยทีเดียว

พระประธานในวัดบำเพ็ญจีนพรต ทำจากกระดาษ
ที่วัดมังกรกมลาวาสนี้ยังมีชื่อเสียงในเรื่องของการสะเดาะเคราะห์แก้ปีชงอีกด้วย ดังนั้นถ้าใครกลัวว่าดวงปีนี้จะไม่ดีอยากจะมาไหว้ก็ขอเชิญกันได้

จากถนนเจริญกรุง ฉันเดินผ่านตลาดเยาวราชซึ่งเต็มไปด้วยผู้คน เรียกว่าแทบไม่ต้องเดิน แต่ไหลตามกระแสของฝูงชนที่มาจับจ่ายใช้เงินซื้อข้าวของเตรียมไว้สำหรับงานตรุษจีนที่ใกล้จะถึงแล้วนี้ ถึงแม้ต้องเบียดเสียดกับคลื่นมหาชน แต่ฉันก็ทำใจให้เป็นเรื่องสนุก เป็นสีสันของเยาวราชที่หาที่ไหนไม่มีเหมือน

เมื่อเดินมาทะลุถึงถนนเยาวราช เดินเลียบถนนมาทางขวามือเพื่อมาที่ตรอกเต๊า หรือตรอกวัดกันมาตุยาราม เพื่อมาที่วัดจีนแห่งที่สอง คือที่ "วัดบำเพ็ญจีนพรต" หรือ "วัดย่งฮกยี่" ที่แต่เดิมนั้นเป็นเพียงวิหารพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ร้าง มีชื่อว่าย่งฮกอำ สร้างในปี พ.ศ.2338 กล่าวกันว่าสร้างโดยชาวจีนในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และต่อมาพระอาจารย์สกเห็งจาริกมาจากประเทศจีน และได้มาอาศัยอยู่ที่นี่ ท่านได้ปฏิสังขรณ์วิหารพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อวัดเป็นย่งฮกยี่ในปี พ.ศ.2430 และได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานนามวัดจากรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ก็พระราชทานนามมาให้ว่า "วัดบำเพ็ญจีนพรต" และยังมีป้ายพระราชทานนามวัดประดิษฐานอยู่ด้านหน้าอุโบสถให้ได้เห็นกันอยู่จนปัจจุบัน

พระอรหันต์ 18 องค์บริเวณด้านข้างพระประธานในวัดบำเพ็ญจีนพรตก็เป็นกระดาษเช่นกัน
วัดบำเพ็ญจีนพรตถือว่าเป็นวัดจีนที่มีขนาดเล็กมากๆ เพราะสภาพที่ตั้งวัดนั้นเป็นคล้ายตึกแถวในซอยเล็กๆ ล้อมรอบด้วยอาคารพานิชย์ หากมองจากภายนอกเข้ามาก็แทบจะไม่รู้ว่ามีวัดอยู่ในซอยนี้

เมื่อเดินเข้ามาในวัดบำเพ็ญจีนพรตแล้ว ก็จะได้พบกับพระเมตไตรยโพธิสัตว์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ด้านหน้าอุโบสถเป็นอย่างแรก พระอุโบสถของวัดนั้นก็เล็กไปตามขนาดวัด คือมีความกว้าง 7.80 เมตร ยาว 10.20 เมตร เท่านั้นเอง ตัวอาคารโครงสร้างไม้แบบจีนผนังก่ออิฐฉาบปูน หลังคาจั่วมุงด้วยกระเบื้องดินเผากาบกล้วยแบบจีน สันหลังคาก่ออิฐปั้นปูน เป็นจั่วปั้นลมตามแบบสถาปัตยกรรมจีน ตามสกุลช่างจีนแต้จิ๋ว

พระเมตไตรยโพธิสัตว์ ด้านหน้าวัดบำเพ็ญจีนพรต
ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธาน 3 องค์ องค์ประดิษฐานอยู่ตรงกลางคือพระศากยมุนีพุทธเจ้า องค์พระศาสดาแห่งโลกปัจจุบัน องค์ทางขวาของพระศากยมุนีคือพระอมิตาภะพุทธเจ้า และองค์ทางซ้ายของพระศากยมุนีคือพระไภษัชยะคุรุพุทธเจ้า หากมองดูแต่ภายนอกอาจจะคิดว่าพระพุทธรูปทั้งสามองค์นี้ก็หล่อด้วยโลหะตามปกติ แต่จริงๆแล้วองค์พระพุทธรูปนั้นทำจากกระดาษ หรือที่เรียกว่าเปเปอร์มาเช่ แล้วลงรักปิดทองจนดูเหมือนเป็นพระพุทธรูปหล่อ นอกจากนั้นแล้ว หากลองมองทางด้านข้างทั้งสองข้างของพระประธาน ก็จะเห็นพระอรหันต์ 18 องค์ในอิริยาบถต่างๆ กัน พระอรหันต์ทั้ง 18 องค์นั้นก็ทำจากกระดาษเปเปอร์มาเช่ด้วยเช่นกัน

นอกจากจะไหว้พระและเทพเจ้าในพระอุโบสถแล้ว เราก็ยังสามารถเดินขึ้นไปยังชั้นบนของตัววัด ซึ่งมีเทพเจ้าต่างๆให้กราบไหว้กัน โดยบนชั้นสามนั้นจะมีรูปปั้นขนาดเล็กของเทพเจ้าจีนต่างๆ ส่วนชั้นสี่ประดิษฐานพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ และป้ายวิญญาณของบูรพาจารย์อดีตเจ้าอาวาสทั้งหลาย ส่วนชั้นห้านั้นก็ประดิษฐานพระอวโลกิเตศวร และพระพุทธรูปพระศากยมุนีพุทธเจ้า ใครที่สนใจก็สามารถมากราบไหว้กันได้ตามศรัทธา

พระประธานงดงามในวัดโลกานุเคราะห์
เดินออกจากตรอกเต๊า ข้ามถนนเยาวราชมาอีกฝั่งหนึ่ง มองหาป้ายร้านทองเล่งหงส์ เมื่อเจอแล้วเดินเลี้ยวเข้าซอยใกล้ๆนั้น เดินเข้าไปแล้วเลี้ยวซ้ายอีกทีหนึ่ง หรือจะเดินเข้ามาทางซอยผลิตผล ลอดซุ้มซุนยัดเซ็นเข้ามาก็ได้เช่นกัน ก็จะเจอกับวัดสุดท้ายที่เราจะมากันในวันนี้ คือที่ "วัดโลกานุเคราะห์" หรือเรียกในภาษาจีนว่า "วัดตื้อเต้ตื่อ" วัดในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่สร้างขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 หรือเมื่อประมาณปี พ.ศ.2394 โดยพ่อค้าชาวจีนและชาวญวน ร่วมกันสร้างเป็นสำนักสงฆ์ เพื่อใช้เป็นศาสนสถานประกอบศาสนกิจตามลัทธิพิธีทางฝ่ายพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน

หากมาเยือนเยาวราชอย่าลืมมาแวะไหว้เทพเจ้ากันที่วัดโลกานุเคราะห์
สำหรับชื่อ "วัดโลกานุเคราะห์" ภาษาไทยนี้ก็ได้รับพระราชทานนามมาจากรัชกาลที่ 5 เช่นเดียวกับสองวัดข้างต้นเช่นกัน โดยวัดแห่งนี้ก็มีขนาดไม่ใหญ่โตนักแต่ก็มีความงดงามไม่แพ้วัดไหนๆ ตรงซุ้มพระประธานเน้นสีทองกับสีแดง ส่วนพระพุทธรูปในซุ้มนั้นก็มีทั้งพระพุทธรูปแบบไทยทั้งในอิริยาบถนั่งและยืน ประดิษฐานรวมอยู่กับพระพุทธรูปแบบจีนอีกด้วย ส่วนที่ผนังด้านหลังพระประธานนั้นก็วาดลวดลายเป็นรูปพระพุทธเจ้าตามแบบจีนสามองค์ด้วยกัน

นอกจากนั้นแล้ว ที่ฝาผนังทั้งด้านซ้ายและขวาภายในพระอุโบสถนี้ ก็ยังเป็นกระเบื้องที่มีลวดลายเป็นพระศรีศากยมุนีหรือพระพุทธเจ้าติดอยู่รายรอบเป็นหมื่นๆองค์ ซึ่งก็เปรียบเสมือนว่าพระองค์ทรงมาเป็นสักขีพยานสดับรับฟังการสวดมนต์และคำอธิษฐานของเรานั่นเอง

และนี่ก็คือวัดส่วนหนึ่งในเยาวราช ที่ฉันนำมาแนะนำให้ผู้ที่สนใจได้เข้าไปกราบไหว้กันในช่วงตรุษจีนนี้

*****************************************

"วัดโลกานุเคราะห์" ตั้งอยู่บนถนนราชวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดโทร.0-2226-2719

"วัดบำเพ็ญจีนพรต" ตั้งอยู่ในตรอกวัดกันมาตุยาราม ถนนเยาวราช สัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดโทร.0-2222-4789

"วัดมังกรกมลาวาส" วัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ สอบถามรายละเอียดโทร.0-2222-3975


สิ่งมงคลคู่ตรุษจีน เสริมความเฮงรับปีฉลู

สิ่งมงคลคู่ตรุษจีน เสริมความเฮงรับปีฉลู

ฮก ลก ซิ่ว

อั่งเปา-ของใช้ใหม่

ง่วนป้อทอง

กิเลน

ใกล้เวลากล่าวคำอวยพรเสริมสิริมงคล "ซิน เจีย ยู่ อี่ ซิน นี้ ฮวด ไช้" ต้อนรับเทศกาลตรุษจีนกันอีกครั้ง ตรุษจีนถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ชองชาวจีนทั่วโลก ที่ต้องมีพิธี "ไหว้เจ้า" เพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิตที่ก้าวสู่ปีใหม่แล้ว

นอกจากจะเห็นบรรดาเครื่องเซ่นไหว้และข้าวปลาอาหารที่มีความหมายสื่อถึงความเป็นมงคล แฝงไว้แล้วนั้น วันสำคัญนี้ อีกสิ่งที่บอกให้รู้ถึงเทศกาลสำคัญนี้ ที่ขาดไม่ได้ "การเปลี่ยนของใหม่" ทั้งข้าวของเครื่องใช้ เครื่องประดับ เสริมสิริมงคล อาทิ ของใช้เครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าของใช้ใหม่ๆ ด้วยโทนสีแดง หรือสีทอง จึงถือเป็นสีแห่งความเป็นมงคล เพราะมีความเชื่อว่าจะทำให้ตนพบแต่ความโชคดี จะส่งผลดีตลอดทั้งปี
สิ่งของมงคล เป็นเครื่องห้อยเครื่องแขวนประดับประดิดประดอย สิ่งมงคลที่ต้องซื้อหามาเป็นเจ้าของในเทศกาลนี้ เช่น

เครื่องรางหยก คนจีนเชื่อว่าเป็นหินพิเศษที่สามารถปกป้องขจัดสิ่งอัปมงคล และยังเชื่อด้วยว่าเมื่อมีหยกอยู่ในบ้าน หรือสวมใส่หยกติดตัว หยกจะช่วยรับเคราะห์ร้ายต่างๆ แทน และยังทำให้เกิดมงคลขึ้นอีกด้วย

ฮก ลก ซิ่ว ชาวจีนจะนับถือ ฮก ลก ซิ่ว เป็นเทพ 3 องค์ ซึ่งเชื่อกันว่าเทพ 3 องค์นี้สามารถประสิทธิ์ประสาทความมั่งคั่ง ความสมบูรณ์และความยั่งยืน

รูปง่วนป้อทอง หรือทองแท่ง สัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่ง

กิเลน (ฉีหลิน) สัญลักษณ์ของวาสนา ความมั่นคงและป้องกันสิ่งอัปมงคลกิเลน เป็นสัตว์มงคลตามตำนาน บางครั้งชาวจีนเรียกว่า "ม้ามังกร" เหมือนเรื่องพระอภัยมณี

อาหารไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษ

อาหารไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษ


ในวันฉลองตรุษจีนอาหารจะถูกรับประทานมากกว่าวันไหนๆในปี อาหารชนิดต่างๆที่ปฏิบัติกันจนเป็นประเพณี จะถูกจัดเตรียมเพื่อญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง รวมไปถึงคนรู้จักที่ได้เสียไปแล้ว ในวันตรุษครอบครัวชาวจีนจะทานผักที่เรียกว่า ไช่ ถึงแม้ผักชนิดต่างๆ ที่นำมาปรุง จะเป็นเพียงรากหรือผักที่มีลักษณะเป็นเส้นใยหลายคนก็เชื่อว่าผักต่างๆ มีความหมายที่เป็น มงคลในตัวของมัน

เม็ดบัว - มีความหมายถึง การมีลูกหลานที่เป็นชาย

เกาลัด - มีความหมายถึง เงิน

สาหร่ายดำ - คำของมันออกเสียงคล้าย ความร่ำรวย

เต้าหู้หมักที่ทำจากถั่วแห้ง - คำของมันออกเสียงคล้าย เต็มไปด้วยความร่ำรวย และ ความสุข

หน่อไม้ - คำของมันออกเสียงคล้าย คำอวยพรให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุข


เต้าหู้ที่ทำจากถั่วสดนั้นจะไม่นำมารวมกับอาหารในวันนี้เนื่องจากสีขาวซึ่งเป็นสีแห่งโชคร้ าย สำหรับปีใหม่และหมายถึงการไว้ทุกข์

อาหารอื่นๆ รวมไปถึงปลาทั้งตัว เพื่อเป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกัน และความอุดมสมบรูณ์ และไก่สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่ เพื่อ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ เส้นหมี่ก็ไม่ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว


ทางตอนใต้ของจีนจานที่นิยมที่สุดและทานมากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ซึ่งถือเป็นอาหารอันโอชะ

ทางเหนือ หมั่นโถและติ่มซำเป็นอาหารที่นิยม

อาหารจำนวน มากที่ถูกตระเตรียมในเทศกาลนี้มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยของบ้าน

ของไหว้เจ้าที่ ประกอบด้วย

ของคาว หมู เป็ด ไก่ ตับ ปลา แล้วแต่ว่าจะไหว้มากหรือน้อย

- ไหว้ 3 อย่าง เรียกว่า ชุดซาแซ ประกอบด้วย หมู เป็ด ไก่

- ไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า ชุดโหงวแซ ประกอบด้วยหมู เป็ด ไก่ ตับ ปลา

ข้าว ข้าวสวยใส่ชาม พร้อมตะเกียบ จำนวนชุดตามจำนวนบรรพบุรุษ นิยมนับถึงแค่รุ่นปู่ย่า

ขนมไหว้ ฮวกก้วยหรือขนมถ้วยฟู คักท้อก้วยหรือขนมกุยช่าย(เป็นไส้ชนิดใดก็ได้)

ขนมจันอับ ซาลาเปา ขนมไหว้นี้ต้องมีสีชมพู หรือมีแต้มจุดแดง

ขนมไหว้พิเศษ ขนมเข่ง ขนมเทียน ต้องยืนเป็นหลัก

ผลไม้ ส้ม กล้วยทั้งหวีเลือกเขียวๆ องุ่น แอปเปิล ชมพู่ ลูกพลับ

เครื่องดื่ม น้ำชา 5 ที่หากมีไหว้ของคาวจะไหว้เหล้าด้วยก็ได้ก็จัด 5 ที่เช่นกัน

กระดาษเงิน กระดาษทอง ชุดไหว้เจ้าที่ ธุปไหว้ คนละ 5 ดอก

ทองแท่งสำเร็จรูป แบงก์กงเต็ก ค้อซี ฯลฯจะมากหรือน้อยแล้วแต่เรา
กระถางรูป โดยเอาข้าวสารใส่ในแก้วไว้สำหรับปักรูป หลังจากที่เสร็จพิธีก็นำเข้าไปผสมกับถังข้าวสารในบ้านไว้สำหรับหุงทนเพื่อให้เฮง ๆ

จำนวนชนิดของขนมไหว้ นิยมให้สอดคล้องกับของคาว เช่น ไหว้ ของคาว 3 อย่าง ขนม 3 อย่าง ผลไม้ 3 อย่าง

ของไหว้บรรพบุรุษ ประกอบด้วย

หมู มีความหมายถึงความมั่งคั่ง ด้วยความอ้วนของตัวหมู สะท้อนถึงความกินดีอยู่ดี

ไก่ มีมงคล 2 อย่างคือ

- หงอนไก่สื่อถึงหมวกขุนนาง ความหมายมงคลจึงเป็นความก้าวหน้าในงาน

- ไก่ขันตรงเวลาทุกเช้า สะท้อนถึงการรู้งาน

ตับ คำจีนเรียกว่า กัว พ้องเสียงกับคำว่า กัว ที่แปลว่าขุนนาง

ปลา คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่า ฮื้อ โดยมีวลีมงคล อู่-ฮื้อ-อู่-ชื้ง แปลว่า ให้เหลือกินเหลือใช้ ไหว้ปลาเพื่อให้มีเงินเหลือกินเหลือใช้มาก ๆ

กุ้งมังกร ไหว้ด้วยรูปลักษณ์ของกุ้งที่หัวใหญ่ มีก้ามให้ความรู้สึกถึงอำนาจวาสนา ต่อมากุ้งมังกรหายาก จึงเปลี่ยนเป็นเป็ดสำหรับคนจีนแต้จิ๋ว และเปลี่ยนเป็นปลาหมึกแห้ง สำหรับคนจีนแคะ)

ชุดกับข้าว ซึ่งทำไหว้ผีบรรพบุรุษและไว้รับประทาน

ลูกชิ้นปลา จีนแต่จิ๋วออกเสียงว่า ฮื้อ-อี๊ แปลว่า ลูกปลากลมๆ

- ฮื้อ หรือปลา คือให้เหลือกินเหลือใช้

- อี๊ แปลว่า กลม ๆ หมายถึงความราบรื่น

ผัดต้นกระเทียม เพราะคนจีนแต้จิ๋ว เรียกกระเทียมว่า สึ่ง พ้องเสียงกับสึ่งที่แปลว่านับ ไหว้ต้นกระเทียม เพื่อให้มีเงินมีทองให้ได้นับอยู่เสมอ

ผัดตับกับกุยช่าย ตับคือ การเรียกว่า กัว พ้องเสียงกับกัวที่แปลว่า ขุนนาง กุยช่ายเป็นการพ้องเสียงของคำว่ ากุ่ย แปลว่า แพง รวย

แกงจืด คนจีนเรียกว่า เช็ง-ทึง เช็ง แปลว่า ใส หวาน ซดคล่องคอ การไหว้น้ำแกงก็เพื่อให้ชีวิตลูกหลานหวานราบรื่น

เป๊าฮื้อ เป๊า หรือ เปา แปลว่า ห่อ ส่วน ฮื้อ คือเหลือกินเหลือใช้ ไหว้เป๊าฮื้อ เพื่อห่อความมั่งคั่เหลือกินเหลือใช้มาให้ลูกหลาน

ผัดถั่วงอก คนจีนแต้จิ๋วเรียกถั่วงอกว่า เต๋าแหง๊ แต่ภาษาวิชาการเรียกว่า เต้าเหมี่ยว เหมี่ยว แปลว่า งอกงาม ไหว้ถั่วงอกเพื่อให้งอกงามรุ่งเรือง

เต้าหู้ เป็นคำเรียกแบบชาวบ้านที่อาจเรียกเป็นเต้าฮกก็ได้ ฮก คำนี้เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว จีนกลางออกเสียงเต้าหู้ว่า โตฟู ฟู แปลว่า บุญ ความสุข

สาหร่ายทะเล เรียกว่า ฮวกฉ่าย ถ้าออกเสียงเป็นฮวดไช้ ก็แปลว่า โชคดี ร่ำรวย

ชุดของหวาน

ซาลาเปา เล่นเฉพาะคำว่า เปา แปลว่า ห่อ ไหว้ซาลาเปาเพื่อให้เปาไช้ แปลว่า ห่อโชค ห่อเงินห่อทองมาให้ลูกหลาน

ขนมถ้วยฟู คือไหว้เพื่อให้เฟื่องฟู คนจีนแต้จิ๋วเรียกขนมถ้วยฟูว่า ฮวกก้วย ก้วย แปลว่า ขนม ฮวก แปลว่างอกงาม

ขนมคัดท้อก้วย คือขนมไส้ต่าง ๆ เช่น ไส้ผักกะหล่ำ มันแกว ไส้กุยช่าย ทำเป็นรูปลูกท้อสีชมพู ลูกท้อ เป็นผลไม้มงคลมีนัยอวยพรให้อายุยืนยาว

ขนมไข่ คนจีนเรียกว่า หนึงก้วย ไข่คือบ่อเกิดแห่งการได้เกิดและเติบโต ไหว้ขนมไข่เพื่อให้ได้มีการเกิดและการเจริญเติบโต

ขนมจับกิ้ม หรือ แต้เหลียง ก็เรียกคือ ขนมแห้ง 5 อย่าง จะเรียกว่า โหงวเส็กทึ้ง หรือ ขนม 5 สี ก็ได้ ประกอบด้วย ถั่วตัด งาตัด ถั่วเคลือบ ฟักเชื่อม และข้าวพอง

- ฟัก เพื่อฟักเงินฟักทอง ฟักเชื่อม คือการฟักความหวานของชีวิต

- ข้าว ถั่ว งา คือ ธัญพืช ธัญญะ แหลว่า งอกงาม ไหว้เพื่อให้งอกงามและชีวิตหวานอย่างขนม

ขนมอี๊ อี๊ หรือ อี๋ แปลว่ากลม ๆ ขนมอี๊ทำจากแป้งข้าวเหนียว นวดจนได้ที่เจือสีชมพู ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ต้มกับน้ตาล เพื่อให้ชีวิตเคี้ยวง่ายราบรื่น เหมือนขนมอี๊ที่เคี้ยวง่ายและหวานใส ซึ่งขนมอี๊นี้อาจใช้เป็นสาคูหรือลูกเดือยก็ได้ คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่าอี๊เหมือนกัน

ชุดผลไม้

ส้ม คนจีนแต้จิ๋วเรียกแบบชาวบ้านว่า กา แต่ส้มมีอีกคำเรียกว่า ไต้กิก

- ไต้ แปลว่า ใหญ่ กิก แปลว่า มงคล

- ไต้กิก จึงแปลว่า มหาสิริมงคล แต่ถ้าแปลง่าย ๆ แบบชาวบ้านก็คือ โชคดี

กล้วย จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า เก็ง-เจีย จะเล่นเสียงว่า เก็ง-เจีย-เก็ง-ไล้ แปลว่า ถึงโชคเข้ามา กับอีกความหมายว่า กล้วย มีผลมากมายแถมเป็นเครือ จึงมีมงคลให้ลูกหลานมาก ๆ มีวงศ์วานว่านเครือสืบสกุล

องุ่น จีนแต้จิ๋วเรียกว่า พู่-ท้อ

- พู่ ก็คือ งอก หรืองอกงาม

- ท้อ ก็คือ พ้องเสียงกับลูกท้อ ที่เป็นผลไม้มงคล อายุยืน

สับปะรด คนจีนแต้จิ๋วเรียก อั้งไล้ แปลว่า เรียกสีแดงมา สีแดงเป็นสีของโชค ก็ประมาณว่าเรียกโชคเข้ามา คนจีนทางใต้นิยมไหว้สับปะรดมาก